ความสำคัญของระบบการดูแลผู้เรียนอาชีวศึกษา
คลินิกให้การปรึกษาสอดคล้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งในส่วนของการเป็นกิจกรรมช่วยเหลือ กิจกรรมส่งเสริมพัฒนา และการส่งต่อ ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังแผนภูมิการดำเนินงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (Flow Chart) ซึ่งครอบคลุมตามขั้นตอน การจัดกิจกรรมช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกัน การส่งเสริมพัฒนา และการส่งต่อ ดังนี้
บทบาทของครู ในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ประกอบด้วย 5 ภารกิจ ดังนี้
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล SDQ การสังเกต ระเบียนสะสม สมุดผลการเรียน ฯลฯ
- จากการจัดกิจกรรมโฮมรูมด้วยเครื่องมือต่างๆ
- จากการเรียนการสอนในห้องเรียนสัมภาษณ์นักเรียน เพื่อน ผู้ปกครอง ฯลฯ
2. การคัดกรองนักเรียนรายบุคคล
- การให้การปรึกษา (คลินิกให้การปรึกษา)
- กิจกรรมซ่อมเสริม
- การติดต่อผู้ปกครอง
- เพื่อนช่วยเพื่อน ฯลฯ
3. การจัดกิจกรรมช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกัน
- กิจกรรมโฮมรูม class room metting ฯลฯ
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนา
- การส่งต่อภายใน
- การส่งต่อภายนอก - ฯลฯ
5. การส่งต่อ
กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังกล่าว สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครอง และ ชุมชน ที่ต้องการให้โรงเรียนดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นกับนักเรียน ช่วยในการพัฒนานักเรียน มีที่รองรับในการส่งต่อนักเรียน นอกจากนี้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ยังช่วยให้ครูมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเพื่อดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ซึ่งคลินิกให้การปรึกษาเป็นวิธีการหนึ่งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ช่วยเหลือนักเรียน ครูและผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการดำเนินงานของคลินิกให้การปรึกษา ได้ดำเนินการตามขั้นตอน PDCA ดังนี้
P (Plan)
1. ประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างงานแนะแนวและกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู
2. จัดทำโครงการและงบประมาณเพื่อขออนุมัติ
3. สำรวจปัญหาและผู้ที่สนใจใช้บริการคลินิก
4. จัดทำตารางให้บริการร่วมกับทีมวิทยากร และทำการประชาสัมพันธ์การให้บริการคลินิกให้การปรึกษา
5. การเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ รถรับส่งวิทยากร เอกสาร อาหาร เครื่องดื่ม
D (Do)
1. การนัดหมายนักเรียน ครู ผู้ปกครองที่ตอบรับการใช้บริการตามความเร่งด่วนของปัญหา
2. งานแนะแนวจะประสานให้ผู้ใช้บริการพบวิทยากรผู้ให้การปรึกษาทั้งเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม
C (Check)
1. เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการให้คำปรึกษาแต่ละครั้ง ผู้ใช้บริการกรอกแบบประเมินผลและทีมงานแนะแนวสรุปผลแบบประเมินเมื่อสิ้นสุดในแต่ละภาคเรียน
2. ทีมงานแนะแนวและกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู ประชุมร่วมกันเมื่อสิ้นปีการศึกษา เพื่อหาข้อที่ควรปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป
A (Action)
นำผลจากขั้น C มาพัฒนาการให้บริการในปีการศึกษาต่อไป