Executive Summaries
1. การนำมาตรฐานการบัญชีสำหรักิจการขนาดกลางและขนาดย่อมมาใช้ ในประเทศไทยในมุมมองของผู้สอบบัญชี >> โดย สุภาภรณ์ กุศลสัตย์, ดร.เสาวนีย์ สิชฌวัฒน์
ในปัจจุบันคณะกรรมการมาดรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) ได้พัฒนามาตรฐานการบัญชีใหม่ ๆ ให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบันมากขึ้น รวมถึงการพัฒนามาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากผลการศึกษาของ United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD ที่มีแนวคิดว่ามาตรฐานการบัญชีเพียงรูปแบบเดียวอาจไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับทุกธุรกิจ ดังนั้นจึงควรมีมาตรฐานการบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการ SMEs การวิจัยนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการนำมาตรฐานการบัฌชีสำหรับ SMEs มาปฏิบัติในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยที่ควรจะมีมาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการ SMEs โดยการพัฒนามาตรฐานควรดัดแปลงมาจาก IFRS ทีใช้อยู่ในปัจจุบัน
The International Accounting standard Board is currently developing new accounting standards suitable for the current environment including accounting standards for small and medium enterprises (SMEs). The United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD) plays an important role in this direction with the hypothesis that one set of accounting standard cannot fit all. This paper investigates the auditors’ opinion about the application of accounting for SMEs in
2. การศึกษาทัศนคติของนักบัญชีต่อการมีมาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม >> โดย นิธิดา สกุลจิตจินดา, ดร.เสาวนีย์ สิชฌวัฒน์
กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-sized Entitles, SMEs) ถือเป็นรากฐานที่ล้ำค่าของงระบบเศรษฐกิจไทย แต่ปัจุบันประเทศไทย ยังมิได้มีการจัดทำมาตรฐานการบัญชีเฉพาะสำหรับ SMEs จากการที่พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้กิจการทุกขนาดจัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เป็นผลให้ SMEs มีต้นทุนในการปฏิบัติตามมาดรฐานการบัญชีไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำรายงานทางการเงิน ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้มีแนวคิดที่จะพัฒนามาตรฐานการบัญชีสำหรับ SMEs โดยเฉพาะขึ้นมา ซึ่งขณะนี้ คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้จัดทำร่างมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศสำหรับ SMEs ประกอบกับ สภาวิชาชีพบัญชีอยู่ในระหว่างการจัดทำมาตรฐานการบัญชีดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น งานวิจัยนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อทราบแนวคิดของผู้ทำบัญชีสำหรับการมีมาตรฐานการบัญชีสำหรับ SMEs เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานการบัญชีดังกล่าวให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปฏิบัติต่อไป ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลปรากฏว่า ผู้ทำบัญชีส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการมีมาตรฐานการบัญชีเฉพาะสาหรับ SMEs โดยเฉพาะ แต่ควรให้เป็นทางเลือกมากกว่าที่จะบังคับใช้ สำหรับ SMEs ที่มีความพร้อมควรอนุญาตให้ใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับสมบูรณ์ได้
The small and medium enterprises (SMEs) are the important foundation of Thai economy. In 2000, The Accounting Act B.E.2543 was issued requiring all business entitles prepare accounting in accordance with the generally accepted accounting principles. This imposes burden to SMEs since cost-benefit is not justified. The accounting standard for SMES is called for. in the mean time, The International Accounting Standard Board has developed the accounting standards for SMEs, and
3. Investigating Earnings management by Surplus Free Cash Flow, and External Monitoring: A study in Stock Exchange of Thailand >> Surat Chayavoradech, Sillapaporn Srijunpetch
The earning management through discretionary accruals in Stock Exchange of Thailand in relation to Surplus Free Cash Flow and External Monitoring (independent auditor and institutional investors) is analyzed using 840 company year observations between 200l and 2005, the result shows that companies with high free cash flow together with low growth opportunities have used discretionary accrual significantly. The interaction between surplus free cash flow and tenor of auditors is significant to support discretionary accrual. This means that auditors with 1ong term relationship with firms tend to help managers manage discretionary accrual when it appears surplus free cash flow. Moreover, the interaction between surplus free cash flow and institutional investors are significantly decrease discretionary accrual in selected observations. งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการกำไรจากรายการคงค้างที่ใช้ดุลยพินิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระแสเงินสดอิสระส่วนเกินและการควบคุมจากภายนอก (ผู้สอบบัญชีและนักลงทุนสถาบัน) โดยใช้ข้อมูล 840 รายการ สำหรับช่วงปี พ.ศ.2544-2548 ผลการวิจัยพบว่า บริษัทที่มีกระแสเงินสดอิสระส่วนเกินสูงและโอกาสการเจริญเติบโตต่ำณ จะจัดการกำไรโดยใช้รายการคงค้างที่ใช้ดุลยพินิจอย่างมีสาระสำคัญ กระแสเงินสดอิสระส่วนเกินและระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้สอบบัญชี มีส่วนทำให้เกิดรายการคงค้างที่ใช้ดุลยพินิจ นั่นหมายความว่า ผู้สอบบัญชีที่ตรวจบัญชีบริษัทเป็นเวลานานมีแนวโน้มที่จะช่วยผู้บริหารในการจัดการกำไร โดยใช้รายการคงค้างที่ใช้ดุลยพินิจเมื่อบริษัทนั้นมีกระแสเงินสดอิสระส่วนเกิน นอกจากนี้ บริษัทที่มีกระแสเงินสดอิสระส่วนเกินและมีนักลงทุนสถาบัน จะช่วยลดการจัดการกำไรโดยใช้รายการคงค้างที่ใช้ดุลยพินิจ
ประเด็นทางบัญชีที่เป็นที่พูดถึงมากที่สุดในช่วงปีที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นประเด็นของการบัญชีมูลค่ายุติธรรมหรือ Fair Value Accounting โดยหลังจากที่ FASB ได้มีการประกาศใช้ SFAS 157 ออกมาบังคับ ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจขาลงของสหรัฐอเมริกา ทำให้บริษัททั้งหลายประสบสภาวะขาดทุน Fair Value Accounting จึงถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งในตัวการของการล่มสลายทางเศรษฐกิจครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม การใช้ Fair Value Accounting ก็ยังมีประเด็นปัญหาที่น่าสนใจหลาย ๆ ประเด็น รวมไปถึงความไม่น่าเชื่อถือของมูลค่ายุติธรรม ถึงแม้ว่าข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจก็ตาม
Fair Value Accounting was one of the most popular accounting issues during the past year. After the release of SFAS 157 by FASBI together with US economic downturn, many corporations and institutions have blamed fair value accounting as one of the root causes of this scandal. Besides, many issues of fair value accounting have been widely discuses, including the doubt regarding the reliabi1ity of fair value information, though it is considered more relevant.
5. บทบาทหน้าที่ของ CFO ยุคใหม่ >> โดย อนุวัฒน์ สงวนทรัพยากร
ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงินยุคใหม่ต้องเร่งปรับตัวทั้งแนวคิดและวิธีปฏิบัติงานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มศักยภาพการบริหารงานโดยการเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ด้านธุรกิจ ด้านการจัดการบุคคลสมัยใหม่ ระบบไอที และเทคโนโลยี กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนอกเหนือจากความรู้ที่ต้องหาเพิ่มเติมแล้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงินยุคใหม่ยังต้องปรับเปลี่ยนบทบาทตัวเองให้มีคุณสมบัติให้เหมาะสมไปกับองค์กรสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
Chief Financial Officers (CFO) should improve both concept and process for the economic growth especially the new modern management by addling the various knowledge ex. businesses, the new modern management of human resource, IT and technology, and law. Moreover CFOs should adjust their role to suit with the company for creating value for the company.
6. Positive Accounting Theory และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง >> โดย ลิษา สวาทยานนท์
Positive Accounting เป็นแนวทางในการวิจัย ซึ่งอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมบริษัทจึงเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีบางอย่าง โดยโครงสร้างของแต่ละบริษัทประกอบด้วยผู้ถือหุ้น หรือตัวการ (Principal) และผู้บริหาร หรือตัวแทน (Agent) ซึ่งมักมีความขัดแย้งกันทางผลประโยชน์ ทั้งนี้ ปัญหาหลัก คือ การที่ผู้บริหารมีข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่สมบูรณ์และมากกว่าผู้ถือหุ้น ดังนั้น ผู้ถือหุ้นจึงมักมีขอสงลัยว่าผู้บริหารอาจไม่ได้กระทำการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ ซึ่งปัญหาหลักนี้ทำให้เกิดปัญหาตามมาเกี่ยวกับธรรมาภิบาลของผู้บริหารและกระบวนการคัดสรรพนักงานที่เหมาะสม บทความนี้ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Positive Accounting Theory ซึ่งมีทั้งผลงานวิจัยที่สนับสนุนและขัดแย้งกับทฤษฎีดังกล่าว Positive Accounting Theory explains why companies select certain accounting policies. The structure of companies comprises shareholders as principal and management as agent. Both of them have conflict of interest. The key problem is information asymmetry between principal and agent. Therefore, shareholders doubts whether managers do their work for principal's benefit. The subsequent problems are corporate governance and adverse selection process. This article provides examples of research papers relating to Positive Accounting Theory.